เรื่องสินสมรสของคู่บ่าวสาว
ตามกฏหมาย……เมื่อหญิงชายตกลงปลงใจแต่งงานเป็นสามีภรรยา และทำการจดทะเบียนสมรสกันแล้วความผูกพันนี้นั้นจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายทั้งคู่ใน 2 ลักษณะคือความสัมพันธ์ส่วนตัวคืออยู่กินกันแบบสามีภรรยา ต้องอุปการะเลี้ยงดูกัน และความสัมพันธ์ทางด้านทรัพย์สิน ซึ่งแยกเป็น “สินสมรส” และ “สินส่วนตัว” ………….
สินส่วนตัวคืออะไร
สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สิน ข้าวของส่วนตัวต่างๆ ที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ก่อนเดิม ก่อนที่ทั้งสองมามาตกลงปลงใจแต่งงานอยู่ด้วยกันแบบสามีภรรยา
สินส่วนตัวที่กฏหมายได้แจกแจงไว้มี 4 ประเภทได้แก่..
- ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนจะสมรส เช่น บ้าน รถ เงินทอง
- ทัรพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสเช่น มรดก หรือ ที่่ได้มาโดยเสน่หา
- ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น จะถือเป็นของส่วนตัวของฝ่ายหญิง
- ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว,เครื่องประดับ,เครื่องแต่งกาย,เครื่องมือประกอบอาชีพ
ถ้าทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น เปลี่ยนสภาพไป เช่น นำไปขายและได้เงินมา นำไปแลกหรือซื้อของอื่นให้ถือว่าเงินหรือของที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวด้วย
สินสมรสคืออะไร
สินสมรส คือทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้มาหลังจากที่ทั้งคู่แต่งงานกันแล้ว และสามีภรรยาเป็นเจ้าของร่วมกัน
สินสมรส แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่..
- ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยพินัยกรรม โดยระบุว่าให้เป็นสินสมรส
- ทรัพย์ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส
- ทรัพย์สินที่เป็นกำไรสุทธิ หรือดอกผลของสินส่วนตัว
สิทธิการจัดการทรัพย์สิน กฎหมายถือให้ผู้เป็นเจ้าของมีอำนาจจัดการทรัพย์สินส่วนตัวได้โดยลำพัง สำหรับสินสมรส ถือเป็นทรัพย์สินร่วมกันคนละครึ่งจึงให้สองฝ่ายจัดการร่วมกัน
การจัดการเรื่องหนี้สินของสามีภรรยาควรทำอย่างไร
เมื่อสามีภรรยาไปเป็นหนี้บุคคลภายนอกหากหนี้นั้นมีมาก่อนสมรสถือเป็นหนี้ส่วนตัว ต่างฝ่ายต่างก็รับผิดชอบกันไปแต่ถ้าหากไม่พอจึงใช้จากสินสมรสที่เป็นส่วนของตนได้คือ ครึ่งหนึ่งของสินสมรส และในกรณีณีที่เกิดหนี้ระหว่างสมรสหนี้นั้นอาจเป็นหนี้ส่วนตัวค้างคามาหรือเป็นหนี้ร่วมสามีภรรยาต้องร่วมกันชดใช้เจ้าหนี้โดยใช้เงินทั้งจากสินสมรสและสินส่วนตัวได้หนี้ที่เกิดระหว่างสมรสและถือเป็นหนี้ร่วมได้แก่หนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดูรักษาพยาบาลคนในครอบครัว,ให้การศึกษาบุตร,หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมร, หนี้ที่เกิดจารการงานที่สามีภรรยาทำร่วมกันและหนี้ที่สามีหรือภรรยาก่อให้เกิดเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายยินยอมและรับรู้ด้วยสามีภรรยาต้องรับผิดชอบร่วมกัน
การทำพินัยกรรม
ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำพินัยกรรมในส่วนของสินส่วนตัวนั้นจะยกให้ใครก็ได้ตามแต่ความพอใจแต่กับสินสมรสเนื่องจากสามีและภรรยามีสิทธิเป็นเจ้าของสินสมรสร่วมกันคนละครึ่งจึงไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินกว่าส่วนของตัวเองให้แก่บุคคลอื่นถ้าทำไปพินัยกรรมนั้นจะสมบูรณ์เฉพาะส่วนของตัวเองเท่านั้น