สินสอดทองหมั้นตามประเพณีไทยที่ควรรู้ไว้ก่อนใช้ชีวิตคู่
เมื่อบ่าวสาวแต่งงานกันจะต้องจดทะเบียนสมรส เพื่อประกาสให้คนทั่วไปรู้ว่ามีคุ่ครองชีวิตแล้ว แต่การจดทะเบียนสมรสนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกใจของแต่ละคุ่ว่าจะจดหรือไม่จดก็ได้ และสำหรับคู่ที่จดทะเบียนสมรสนั้นก็ต้องศึกษาในเรื่องทรัพย์สิน กฏหมายกันเอาไว้ด้วย เพราะเมื่อวันใดที่ทั้งคู่เกิดหย่าร้างหรือต้องแยกทางกันไป สินสมรส หรือสินสอดนี้ก็ต้องมีการแบ่งตามกฏหมายนะคะ
เมื่อชายหญิงตกลงปลงใจเป็นสามีภรรยาและผ่านการจดทะเบียนสมรสแล้ว ความผูกพันธ์นี้จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา 2 ลักษณะคือ
ความสัมพันธ์ส่วนตัว คือการอยู่กินกันแบบสามีภรรยาที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูกัน
ความสัมพันธ์ทางด้านทรัพย์สิน จะแยกเป็นสินสมรส และสินส่วนตัวโดยเข้าใจกันง่ายๆ
สินส่วนตัวคือทรัพย์สิน ข้าวของ เครื่องใช้ส่วนตัวตามที่แต่ละคนมีอยู่ก่อนที่จะแต่งงานกัน
สินสมรสคือทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้มาหลังแต่งงาน และเป้นเจ้าของร่วมกันในฐานะสามีภรรยา
ตามกฏหมายได้แยกไว้อย่างละเอียดคือ สินส่วนตัว มี 4 ประเภท ดังนี้
1. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีอยู่ก่อนสมรส เช่น บ้าน ที่ดิน เงินทอง
2. ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือได้มาโดยเสน่หา
3. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย เครื่องมือประกอบอาชีพ
4. ทรัพย์ที่เป็นของหมั้น จะถือเป็นสินทรัพย์ส่วนตัวของฝ่ายหญิง
นอกจากนี้หากทรัพย์สินดังกล่าวเปลี่ยนสภาพไป เช่น นำไปขายแล้วได้เงินมา หรือนำไปแลกซื้อเป็นของอื่น ให้ถือว่าเงินหรือที่ได้มานั้น เป็นสินส่วนตัวด้วย
ส่วนสินสมรส มี 3 ประเภท ดังนี้
1. ทรัพย์ที่คู่สมรส ได้มาระหว่างสมรส เช่นเงินเดือนโบนัส
2. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยพินัยกรรม โดยระบุว่าให้เป็นสินสมรส
3. ทรัพย์สินที่เป็นกำไรสุทธิ หรือดอกผลของสินส่วนตัว สิทธิการจัดการทรัพย์สิน กฏหมายถือให้ผู้เป็นเจ้าของมีอำนาจจัดการทรัพย์สินส่วนตัวได้โดยลำพัง สำหรับสินสมรส ถือเป็นทรัพย์สินร่วมกันคนละครึ่งจึงให้ทั้งสองฝ่ายจัดการร่วมกัน
สามีภรรยาสามารถแยกกันจัดการสินสมรสได้ 4 กรณี ดังนี้
1. เมื่อคู่สมรสตกลงแยกกันจัดการทรัพย์สินสมรสโดยการทำสัญญาก่อนสม รสไว้ก่อน
2. เมื่อคู่สมรสฝ่ายหนึ่งตกเป็นบุคลไร้ความสามารถ อีกฝ่ายมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้แยกสินสมรสได้
3. เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกศาลตัดสินให้เป็นบุคลล้มละลาย จะมีผลให้สินสมรสแยกกันตามกฏหมาย
4. เมื่อมีการร้องขอต่อศาลให้แยกสินสมรสเพราะสาเหตุ เช่น อีกฝ่ายทำความเสียหายแก่สินสมรส ไม่อุปการะเลี้ยงดู เป็นหนี้สินมากมาย หรือขัดขวางการ จัดการสินสมรสโดยไม่มีเหตุอันควร และเมื่อมีการแยกสินสมรสออกจากกันแล้ว สินสมรสส่วนที่แยกออกมาจะถือเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายรวมถึงการจัดการทรัพย์สิน เช่น มรดก ดอกผล ที่ได้มาหลังจากการแยกสินสมรสด้วย
ส่วนคู่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
การจัดการทรัพย์สินมีข้อแตกต่าง คือในแง่กฏหมายจะถือว่า อยู่กินกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสไม่เป็นคู่สมรสต่อกัน บุตรที่เกิดมาจะเป็นของฝ่ายหญิงฝ่ายเดียวและการอยู่ด้วยกันไม่ทำให้เกิดสินสมรส แต่ในแง่ปฏิบัติ เพื่อความเป็นธรรมและป้องกันความแตกแยกในครอบครัว กฏหมายจึงถือให้ทรัพย์สิน ที่เป็นของฝ่ายชายและหญิงที่ร่วมลงทุนร่วมแรงทำมาหารายได้ร่วมกัน ในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันให้ถือเป็นทรัพย์สินรวม ชายและหญิงเป็นเจ้าของร่วมกันและมีสิทธิ์ ในทรัพย์สินกันคนละครึ่ง การลงทุนร่วมแรงโดยหลักการหมายถึง การที่ชายและหญิงร่วมกันทำการค้า หรือดำเนินกิจการโดยเฉพาะเจาะจง แล้วได้ทรัพย์สินมา และในกรณี ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งช่วยกันดูแลบ้านและครอบครัวโดยอีกฝ่ายเป็นทำการค้าก็ถือว่าเป็นผู้ร่วมทำมาหากิน เช่นกัน ในทางกลับกันถ้าทรัพย์ต่างคนต่างทำมาหารายได้ แยกกันหรือเป็นมรดกที่รับมาถือเป็นสิทธิของผู้นั้นผู้เดียว อีกฝ่ายไม่มีส่วนแบ่ง รวมทั้งไม่สามารถฟ้องขอแบ่งทรัพย์ได้
การทำพินัยกรรม
ถ้าทำพินัยกรรมสินส่วนตัวสามารถยกให้ใครก็ได้ตามความพอใจ แต่กับสินสมรส เนื่องจากสามีและภรรยามีสิทธิเป็นเจ้าของสินสมรสร่วมกันคนละครึ่ง จึงไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินกว่าของตัวเอง ให้แก่ บุคลอื่นถ้าทำไปพินัยกรรมนั้นจะสมบูรณ์เฉพาะส่วนของตัวเองเท่านั้น
_________________________________________________________________________
หากคุณกำลังหาช่างภาพแวะมาสอบถามกับเราได้เลยครับ เราเป็นช่างภาพมืออาชีพด้านการถ่ายภาพนิ่งและ cinema โดยมีประสบการณ์ทำงานในวงการถ่ายภาพมากกว่าสิบปี ให้บริการทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกับต่างชาติได้อย่างเข้าใจ
Contact us
Tel : 08-0606-1616 | Line : @superpibphoto
E-mail : superpib@gmail.com | Facebook : Pib Wedding Studio